รู้จักโรคไตภัยเงียบที่ถูกมองข้าม
จากสถิติล่าสุด ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเกือบ 8 ล้านคน โดยในทุกๆ วันจะมีผู้เสียชีวิตด้วยภาวะโรคไตกว่า 108 คนต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นโรคไตลดลงสวนทางกัน หรือพบได้ในเด็กมากขึ้น แตกต่างจากสมัยก่อนที่มักพบในผู้สูงอายุหรือคนวัยทำงาน แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคไตกันมากนัก เพราะมองว่าเป็นโรคไกลตัว ทำให้กว่าจะตรวจพบหรือพบอาการก็มักเป็นโรคไตระยะท้ายๆ หรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแล้ว ก่อนที่โรคร้ายจะมาถึงตัวคุณ เรามาทำความรู้จักกับโรคไต ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม
โรคไตเป็นยังไง?
โรคไต คือ ภาวะที่ไตเสื่อม มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลงจนไม่สามารถกำจัดสารพิษและของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้มีของเสียและสารพผิดตกค้างอยู่ในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก และนอกจากการกรองของเสียแล้ว ไตยังทำหน้าที่ ควบคุมระบบของเหลวในร่างกายอย่างน้ำและเกลือแร่, ความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกาย, ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง วิตามินดี ฟอสฟอลรัส แคลเซียม และควบคุมการสร้างกระดูก ซึ่งเมื่อร่างกายของเรากำจัดของเสียและสารพิษออกไปไม่ได้ จะทำให้เกิดภาวะไตวาย ระบบร่างกายล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุดเ
โรคไตมีอะไรบ้าง?
เราสามารถแบ่งโรคไตออกเป็น 2 ชนิด คือ
- โรคไตวายเฉียบพลัน เป็นอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งมักมีสาเหตุจากการได้รับสารพิษหรือยาบางอย่างที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงหรือเกิดการเสียเลือดเป็นปริมาณมาก ฯลฯ ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน หากผู้ป่วยได้รับการรักษาทันท่วงทีไตก็จะไม่ได้รับความเสียหายมากนักและสามารถฟื้นฟูจนกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ
- โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตวานเรื้อรังมีหลายระยะ โดยในช่วงระยะแรกๆ จะไม่สามารถสังเกตอาการออกได้ง่ายๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าไตกำลังมีปัญหา แต่เมื่อไตของเราสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานไปราวๆ 50% ถึงตอนนั้นก็จะแสดงอาการผิดปกติออกมา โดยเราสามารถแบ่งโรคไตวายเรื้อรังออกเป็น 5 ร ะยะ ตามระดับอัตราการกรองของไตหรือ eGFR (estimated glomerular filtration rate) ดังนี้
– ระยะที่ 1 ไตยังสามารถทำงานได้เกือบ 90% ของไตปกติ เพียงแต่ไตเริ่มมีความเสื่อมเล็กน้อย
– ระยะที่ 2 โรคไตระยะเริ่มต้น การทำงานของไตลดลดเหลือเพียง 60%-90%
– ระยะที่ 3 โรคไตระยะปานกลาง การทำงานของไตลดลดเหลือเพียง 30%-60%
– ระยะที่ 4 โรคไตระยะรุนแรง การทำงานของไตลดลงเหลือเพียง 15%-30%
– ระยะที่ 5 โรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งจะเข้าสู่ภาวะไตวาย โดยการทำงานของไตลดต่ำกว่า 15% ซึ่งต้องรักษาด้วยการล้างไตหน้าท้อง ฟอกเลือด หรือผ่าตัดปลูกไต
อย่าปล่อยให้ไตเสื่อมแล้วค่อยกลับมารักษาโรคไต เพราะไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตนเองให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิมได้ การดูแลบำรุงรักษาไตให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งจำเป็นกับผู้ป่วยโรคไตและผู้ที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคไต เพราะการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกัน เพียงหมั่นดูแลสุขภาพและเลือกรับประทานอาหารที่มี ฟูคอยแดน (Fucoidan) สารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเลลึก ช่วยเสริมการปกป้องและบำรุงไต ทำให้ไตของเรามีสุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคไตก่อนจะสายเกินไป
Cr. www.umi-plusgel.com